นางวนาพร คณาญาติ
เหตุผลและที่มา
งานให้บริการปรึกษามีเจ้าหน้าที่ จำนวน 4 คน ในปีที่ผ่านมาผลการประเมินสุขภาพจำนวน 3 คน อยู่ในกลุ่ม A จำนวน 1 คน และ อยู่ในกลุ่ม C จำนวน 2 คน เป็นเจ้าหน้าที่ที่เริ่มมาปฏิบัติงานใหม่ จำนวน 1 คน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 ยังไม่ได้ตรวจสุขภาพประจำปี เจ้าหน้าที่ จำนวน 2 คน มีผลเลือด Cholesterol เกินเกณฑ์ จากผลการตรวจสมรรถภาพทางกาย (In body) จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่งานให้บริการปรึกษา มวลไขมันเกินเกณฑ์ จำนวน2 คน คิดเป็นร้อยละ 50 BMI มีภาวะอ้วนอันตราย จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 25 ไขมันช่องท้องเกินเกณฑ์จำนวน 1 คน คิดเป็น ร้อยละ 25 รอบเอวเกินเกณฑ์จำนวน 3 คน คิดเป็น ร้อยละ 75 Fitness score ต่ำ จำนวน 1 คน คิดเป็น ร้อยละ 25
นายศิวพล สุวรรณบัณฑิต
การทบทวนการจัดการความรู้
จากการพัฒนาโปรแกรมการอยู่ไฟหลังคลอดปีของคลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 ตั้งแต่พ.ศ.2553ถึงปี 2557 ทำให้ได้รูปแบบการอยู่ไฟที่เป็นมาตรฐานของโรงพยาบาลได้แก่ การนวดตัว ทับหม้อเกลือ การประคบเต้าอบไอน้ำสมุนไพร อาหารสมุนไพรบำรุงน้ำนม และได้นวัตกรรมอยู่ไฟหลังคลอด เช่น
นางสาวสายสุนี จุนเนียง
เหตุผลและที่มา
การปฏิบัติการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการพยาบาลอย่างถูกต้องครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นการให้การพยาบาลหรือการทำหัตถการต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังพบปัญหาในทางปฏิบัติอยู่เสมอ เช่นการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อ โดยปัญหาที่พบได้เสมอคือ
นางพิชชากานต์ วิเชียรกัลยารัตน์
เหตุผลและที่มา
จากการที่กลุ่มการพยาบาลได้ทบทวนผลการตรวจสุขภาพประจำปี และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ. เปรียบเทียบผล 3 ปีย้อนหลังได้แก่ ปี 2555 – 2557 พบว่า บุคลากรกลุ่มการพยาบาลมีรอบเอวเกินมาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 11.3 , 33.3 และ 22.2 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาสภาวะสุขภาพจากผลการตรวจสุขภาพประจำปี พบว่า บุคลากรที่มีผลโคเลสเตอรอลมีค่าเกินเกณฑ์ (เกณฑ์<200mg/dl) มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 55.6 , 44.4 และ 66.7 ตามลำดับ และด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้วยหลัก 3 อ. พบว่าบุคลากรมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพถูกต้องตามหลัก 3 อ. โดย
นางศัสยมน ปรางค์โท้
การทบทวนการจัดการความรู้ (BAR)
จากการสำรวจสถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของกรมอนามัยในปี 2552 พบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเพิ่มขึ้นจากร้อยและ 16.3 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 29.6 ในปี 2552 ซึ่งเป็นไปในทางที่ดีขึ้น แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายของประเทศไทย เพราะยังมีแม่ที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยอีกกลุ่มหนึ่ง ที่สำคัญคือแม่ที่มีลูกป่วยเพราะในแต่ละปีประเทศไทยมีเด็กทารกแรกเกิดที่จำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลจำนวนมาก ทั้งทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทารกที่ป่วยต้องอยู่ในแผนกบริบาลทารก(NICU) ทารกที่ได้รับการผ่าตัด หรือเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เด็กกลุ่มนี้มีโอกาสถูกแยกแม่-ลูก หรือถูกสั่งให้งดนมแม่ด้วยเหตุผลต่างๆ ทำให้
นางณัฐนันท์ วงษ์มามี
เหตุผลและที่มา
การพยาบาลทารกแรกเกิดที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือการดูแลอุณหภูมิร่างกายทารก เนื่องจากทารกมีความสามารถจำกัดในการปรับตัว เพื่อให้ทารกมีอุณหภูมิของร่างกายคงที่ ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิแกนกลางของร่างกาย (Core temperature) มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ถ้าอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมถูกควบคุมให้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ถูกต้องเหมาะสม ทารกจะไม่ใช้ออกซิเจน และพลังงานเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างความร้อนเพิ่มเติม
ภญ. ภัทราวดี อำไพพันธุ์
เหตุผลและที่มา
ความคลาดเคลื่อนทางยา (Medication Error: ME) หมายถึง เหตุการณ์ใดๆ ที่สามารถป้องกันได้ ที่อาจเป็นสาเหตุหรือนำไปสู่การใช้ยาที่ไม่เหมาะสม หรือเป็นอันตรายแก่ผู้ป่วย ในขณะที่ยาอยู่ในความควบคุมของบุคลากรสาธารณสุข ผู้ป่วย หรือผู้รับบริการ เหตุการณ์เหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางวิชาชีพ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กระบวนการ และระบบซึ่งรวมถึงการสั่งใช้ยา การสื่อสารคำสั่งใช้ยาแนวทางการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาต้องมีวางแผนระดับนโยบาย โดย
นางสาวเสาวนีย์ สาบุตร
เหตุผลและที่มา
ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด พ.ศ.2551 โดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 โดยกฎกระทรวงได้แบ่งตลาดออกเป็น 2 ประเภท คือตลาดประเภทที่ 1 (ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร) กรมอนามัย โดยมีมาตรการให้ตลาดประเภทที่ 1 ทุกแห่งทั่วประเทศ ได้รับการพัฒนายกระดับเป็นตลาดสด น่าซื้อ ในขณะที่ตลาดประเภทที่ 2 (ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร) ส่วนใหญ่มักเป็นตลาดนัด ปัจจุบันมีอยู่มากมายกระจายไปตามตำบลหรือหมู่บ้านต่างๆ มีการจำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิดและราคาถูก ประชาชนจึงนิยมไปจับจ่ายซื้อสินค้า แต่ตลาดประเภทดังกล่าวในปัจจุบันยังไม่ได้มาตรฐาน และในการจัดตั้งตลาดบางแห่งไม่ได้ขออนุญาตจากราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบกับผู้จัดตั้งตลาดส่วนใหญ่ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในเรื่อง
นายประสิทธิ์ อภิรมานนท์
เหตุผลและที่มา
ในปีงบประมาณ 2557 กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์และการวิจัยได้ดำเนินการพัฒนาระบบงาน7ส K:\LAN (Drive K:) เพื่อให้สะดวกต่อการสื่อสารผ่าน Drive K ระหว่างหน่วยงาน และภายในองค์กรให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยได้มีการปรับพื้นที่ (Drive K:) ในการเก็บข้อมูลทั้งหมดของทุกหน่วยงานเพิ่มจากเดิม 320 GB เป็น 1TB และกำหนดพื้นที่ให้ผู้ใช้ โดย User บุคคล คนๆ 2 GB แต่ถ้า User หน่วยงานๆ ละ 10 GB ซึ่งจากการประเมินผลการดำเนินงานหลังจากดำเนินกิจกรรมชี้แจง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มงานเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา พบว่า
ทพ.กษิดิศ ทิพวรรณ
เหตุผลและที่มา
จากเกณฑ์การประเมินมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก ในส่วนของคลินิกส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ได้กำหนดให้มีการประเมินและจัดการความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ ซึ่งกลุ่มงานทันตกรรมได้จัดทำแนวทางการประเมินและการจัดการต่อโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยไปเรียบร้อยแล้วนั้น เป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ การนำเอาแนวทางการประเมินและการจัดการต่อโรคฟันผุไปใช้ และประเมินประสิทธิผลของแนวทางดังกล่าว จะก่อให้เกิดการถอดบทเรียน และปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทและแนวทางการทำงานมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
- เพื่อประเมินประสิทธิผลของแนวทางการประเมินและจัดการความเสี่ยงต่อโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย คลินิกส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์
- เพื่อปรับปรุง แก้ไข แนวการประเมินและจัดการความเสี่ยงต่อโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย คลินิกส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์ ให้สอดคล้องการบริบทและแนวทางการทำงาน