นายพัฒน์สรณ์ นิมิตรพรชัย
เหตุผลและที่มา
จากการให้บริการของงานรังสีวินิจฉัย กลุ่มงานเวชศาสตร์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพที่ผ่านมามักพบปัญหา เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ขาดความรู้ความเข้าใจ การใช้รังสีเอกซ์ทางการแพทย์ จึงจัดทำ KMเรื่อง รังสีเอกซ์ทางการแพทย์สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 8
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจการใช้รังสีเอกซ์ทางการแพทย์ให้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
นางสุมาลัย นิธิสมบัติ
เหตุผลและที่มา
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพมุ่งสู่เป้าหมายการขอรับการประเมินโรงพยาบาลคุณภาพ (HA) ขั้น 2 และกิจกรรมสำคัญที่เป็นพื้นฐาน ในการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลนั้น คือ การบริหารจัดการความเสี่ยงในระดับหน่วยงานเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง ทุกหน่วยงานเกิดความเข้าใจให้ความร่วมมือ ค้นหาความเสี่ยงของหน่วยงานและระบบงานได้อย่างครอบคลุม รวมถึงการกำกับดูแลจัดการเรื่องร้องเรียน เชิงรุกทันท่วงทีนั้น สามารถลดความเสี่ยงต่อการร้องเรียนไม่พึงพอใจของผู้รับบริการ และเพื่อเป็นการทบทวนข้อมูลให้หน่วยงานทราบในเรื่องตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการจัดความเสี่ยงและพฤติกรรมบริการที่ทำให้ได้รับ ข้อร้องเรียน ให้เห็นความสำคัญของการบริหารจัดการเพื่อคุณภาพการบริการ และมาตรฐานของระบบบริการ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการลงพื้นที่หน่วยงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรมดังกล่าว จะช่วยเสริมพลัง การทำงานให้กับหน่วยงานมากยิ่งขึ้น และได้รับความร่วมมือการดำเนินงานไปด้วยกันอย่างเป็นระบบ ลดข้อขัดแย้ง เกิดการประสานงานที่ดี มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
นายชัชวาล โพธิ์ทัย
ความสำคัญของปัญหา
เนื่องด้วยสวนขวัญวันเสด็จแต่ก่อนเป็นสวนสุขภาพที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆของศูนย์แต่เนื่องด้วยศูนย์มีการก่อสร้างตึกพิษเศษสำหรับผู้ป่วยขึ้นบริเวณ สวนขวัญวันเสด็จ จึงทำให้สภาพของสวนขวัญถูกปล่อยทิ้งไม่สามารถใช้ทำกิจกรรมได้ ดังนั้นงานสนามจึงได้ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่สวนขวัญวันเสด็จเพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับชุมชนชาวศูนย์ใช้ทำกิจกรรม เช่น เป็นลานออกกำลังกาย เป็นสวนสุขภาพครอบครัว เป็นลานกิจกรรมสังสรรค์ต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้การพัฒนาสวนขวัญวันเสด็จนั้นเป็นการพัฒนาต่อยอดจากการดำเนินงาน KM สวนสวยด้วย 3 ด. ที่มีวัตถุประสงค์พัฒนาสวนสวยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของศูนย์อนามัยที่ 8
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
เพื่อเป็นสวนสุขภาพสำหรับกิจกรรมออกกำลังกายและพักผ่อน ของชุมชนศูนย์อนามัยที่ 8
นพ.ธัชชัย ซื่อภักดี
เหตุผลและที่มา
ความสำเร็จในการดูแลเส้นรอบเอวของบุคลากรองค์กรแพทย์ประสบความสำเร็จตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเกิดจาก ดังนี้
- ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น โครงร่าง พื้นฐานรูปร่างของแต่ละคน
- ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพตนเอง ในการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย ฯลฯ
องค์กรแพทย์มีสมาชิกทั้งหมดรวม 8 คน ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2557 มีเส้นรอบเอวอยู่ในเกณฑ์ปกติทุกคน (ยกเว้น พญ.ศรินนา แสงอรุณ เพราะกำลังตั้งครรภ์) แพทย์ส่วนใหญ่มีกิจกรรมการดูแลสุขภาพ การควบคุมความสมส่วนร่างกายของตนเองที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมความสำเร็จให้มีความต่อเนื่อง ได้ตามเป้าหมาย คือ
นางสาววิไลวรรณ สุรารักษ์
เนื่องจากเดิมห้องคลอดมีระบบจัดส่งเครื่องมือที่ใช้แล้วโดยมีการล้างและจัดเป็น set จึงไม่เกิดปัญหาเครื่องมือหาย ต่อมามีการทบทวนร่วมกับระบบ I C โรงพยาบาลพบว่าไม่ถูกหลัก I C จึงต้องปฏิบัติระบบ Center Supply เครื่องมือทุกชิ้นต้องส่งลงไปล้างและห่อ set
ที่แผนกบริการกลางจึงจะถูกหลัก I C แต่เนื่องจากเครื่องมือห้องคลอดมีหลายชนิดและมีจำนวนมากมีการใช้ทุกวันทุกเวร เมื่อมีการส่งลงไปล้างไม่มีการนับจำนวนชิ้น ทำให้เกิดปัญหา แผนกบริการกลางจะโทรศัพท์ประสานว่ามีเครื่องมือไม่ครบอยู่บ่อยครั้ง เจ้าหน้าที่ห้องคลอดจึงประชุมหาแนวทางการแก้ปัญหาโดยมีการปรับเปลี่ยนและจัดระบบการส่งของ sterile ใหม่เพื่อป้องกัน เครื่องมือสูญหายเพราะเครื่องมือส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือแพทย์ที่มีราคาสูง เพื่อให้สามารถลดต้นทุนในการจัดหาซื้อเครื่องมือ และมีเครื่องมือใช้อย่างครบถ้วน คลิกเพื่ออ่านเพิ่ม→
นางวันวิสา ฤทธิ์บำรุง
งานห้องคลอดได้ดำเนินการตามนโยบาย โรงพยาบาลสายใยรักฯ สนับสนุนให้แม่ได้โอบกอดลูกทันทีหลังจากคลอดและกระตุ้นให้ดูดนมแม่นาน 1 ชั่วโมง แม่บางรายเมื่อยล้า แขนกอดกระชับได้น้อยลงซึ่งมีความเสี่ยงต่อการพลัดตก จึงได้ร่วมกันหารูปแบบโดยจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน เพื่อช่วยพยุงลูกให้อยู่ได้นาน และลดอาการ เมื่อยล้า แขนของแม่ ป้องกันความเสี่ยง ต่อการพลัดตก ขณะทำ early bonding และ early breast feeding การที่มารดาต้องกระตุ้นให้ลูกดูดนมนานในขณะที่ผู้ทำคลอดเย็บแผลด้วย อาจเกิดความเครียดกับกิจกรรมหลายอย่างที่ได้รับจึงหาแนวทางเพื่อผ่อนคลายความเครียดโดยใช้เสียงเพลงที่สนับสนุนสายสัมพันธ์แม่ลูกผ่านตู้เพลง คลิกเพื่ออ่านเพิ่ม→
นางสุพัตรา โค้วสุวรรณ
จากรายงานการเฝ้าระวังสุขภาพแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ ใน พ.ศ. 2552-2554 พบว่า อัตราทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน 2.00 1.50 และ 5.70 ต่อพันการเกิดมีชีพ ตามลำดับ และพบว่า อัตราน้ำหนักทารกแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 5.10 6.30 และ 6.50 ตามลำดับ และในปี พ.ศ. 2554 พบว่า thick meconium stained amniotic fluid เป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนของมารดาในขณะตั้งครรภ์ที่พบมากที่สุด รองลงมาคือ Oligohydramios และ ภาวะพิษแห่งครรภ์ คิดเป็นร้อยละ 11.40 7.20 และ 4.20 ตามลำดับ
การตั้งครรภ์ถือเป็นภาวะปกติ ไม่ใช่การเป็นโรค แต่ถ้าการตั้งครรภ์นั้นเกิดมีภาวะแทรกซ้อนเนื่องจาก การตั้งครรภ์ ทำให้หญิงตั้งครรภ์และทารกอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรือการตาย ดังนั้นการให้ความรู้และคำแนะนำเพื่อการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ควรเพิ่มเติมจากสตรีตั้งครรภ์ปกติ รวมถึงการให้บริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน คลิกเพื่ออ่านเพิ่ม→
ทพญ.จันจิรา วันแต่ง
จากข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 พบว่าจำนวนคนไข้หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552 จำนวน 2,380 คน 2,145 คน และ 2,540 คน ตามลำดับ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้รับบริการหลักที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ อีกกลุ่มหนึ่ง และจากการรวบรวมข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ระหว่างช่วง 12-20 สัปดาห์ ที่เข้าร่วมโครงการของกลุ่มงานส่งเสริมทันตสุขภาพ ในปี 2552-2553 จำนวน 244 คน พบว่า caries free (ภาวะปราศจากฟันผุ) มีเพียง27.46% และมีภาวะฟันผุ 72.54% และพบภาวะเหงือกอักเสบ 72.54% ซึ่งสะท้อนว่ากลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ยังคงมีปัญหาสุขภาพช่องปาก แม้จะได้ ทันตสุขศึกษา หญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มที่ควรได้รับการดูแลสุขภาพเป็นพิเศษรวมทั้งสุขภาพช่องปาก เพราะมีโอกาสเกิดโรคปริทันต์รุนแรงกว่าช่วงเวลาอื่นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน (Muramatsu,Y. and Takaesu, Y., 1994,pp.139-151) และ สภาวะปริทันต์ของมารดายังมีผลต่อน้ำหนักของทารกที่คลอด (Marin, C., et al., 2005, pp. 299-304)
ในฐานะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเราควรมีการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ทุกช่วงวัยเพื่อให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีอย่างถ้วนหน้า และการทำความสะอาดช่องปากเป็นการควบคุมคราบจุลินทรีย์วิธีหนึ่ง ที่เรียกว่า mechanical plaque control ซึ่งการควบคุมคราบจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพนั้นสามารถลดการเกิดสภาวะฟันผุ และเหงือกอักเสบได้ ทั้งนี้รายละเอียดการให้ทันตสุขศึกษาเกี่ยวกับการควบคุมคราบจุลินทรีย์ มีข้อปลีกย่อย แตกต่างกันไปในทันตบุคลากรแต่ละคน ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาแนวทางการให้ทันตสุขศึกษา โดยพิจารณาประสิทธิภาพการควบคุมคราบจุลินทรีย์ หรือ PLAQUE INDEX คลิกเพื่ออ่านเพิ่ม→
น.ส.สิริวรรณ พันรอด
จากการศึกษาพฤติกรรมการแปรงฟันเด็กของผู้ปกครองที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนครสวรรค์ พบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่มีปัญหาในการแปรงฟันให้เด็ก เนื่องจากเด็กไม่ให้ความร่วมมือ ผู้ปกครองแปรงไม่เป็น หรือผู้ปกครองไม่กล้าแปรงฟันให้เด็กเพราะกลัวเด็กเจ็บ ส่งผลให้เด็กมีปัญหาฟันผุ ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นมาในช่องปาก ประกอบกับฟันน้ำนมซี่แรกของเด็กจะเริ่มขึ้นเมื่อเด็กอายุประมาณ 6 เดือน ดังนั้นเพื่อลดการเกิดปัญหาโรคฟันผุในเด็ก และเพื่อให้การให้ทันตสุขศึกษาของเจ้าหน้าที่แต่ละคนเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ผู้ปกครองได้รับความรู้ และพึงพอใจในรูปแบบการสอนกลุ่มงานส่งเสริมทันตสุขภาพจึงได้ทำการหาแนวทางการสอนผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 1-3 ปี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กอายุ 1-3 ปี ต่อไป คลิกเพื่ออ่านเพิ่ม→
นาย ธนวัชร์ อังรัตสกุล
การพัฒนาห้องสมุดศูนย์อนามัยที 8 ให้เป็นคลังความรู้ (Knowledge Assets )เดิมมีการพัฒนาโปรแกรมห้องสมุด เพื่อการสืบค้นหนังสือภายในห้องสมุด ในปี 2555 กรมอนามัยมีนโยบายให้ทุกศูนย์อนามัยใช้ระบบเครือข่ายในการสืบค้นหนังสือในห้องสมุดเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน และใช้ทดแทนโปรแกรมห้องสมุดเดิมที่ไม่สามารถพัฒนาต่อยอดได้ ดังนั้น กลุ่มพัฒนาคุณภาพและการเรียนรู้ ได้นำโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ เพื่อเผยแพร่การใช้โปรแกรมฯ ในการสืบค้นหนังสือห้องสมุด ซึ่งได้ดำเนินการแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ในศูนย์อนามัยที่ 8 ยังไม่รู้จักวิธีการใช้โปรแกรมดังกล่าว จึงคิดจัดทำคู่มือ วิธีการใช้ โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ในการสืบค้นหนังสือ เพื่อให้บุคลากรที่สนใจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ คลิกเพื่ออ่านเพิ่ม→