นางสาวเบญจา ยมสาร
การเยี่ยมสำรวจและประเมินโรงพยาบาลตามมาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน(คลินิกวัยรุ่น) เป็นกระบวนการ หรือเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นสำหรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลที่มีบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน โดยมีทีมผู้เยี่ยมสำรวจและประเมินจากภายนอก และมีมุมมองเพื่อการเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อให้เป็นแนวทางการทำงานและประเมินผลการดำเนินงาน ในการพัฒนาคุณภาพบริการ ซึ่งทีมผู้เยี่ยมสำรวจและประเมินจะเป็นผู้สะท้อนให้เห็นถึงจุดเด่น ความก้าวหน้าในการดำเนินการ ความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและผลกระทบ ตลอดจนข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
ดังนั้นทีมผู้เยี่ยมสำรวจและประเมิน ควรต้องมีการฝึกอบรมทักษะ ของการเป็นผู้เยี่ยมสำรวจ ตามเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากทีมเยี่ยมสำรวจและประเมิน ประกอบด้วยตัวแทนจากศูนย์อนามัยที่ 8 และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 ก่อนเข้าเยี่ยมสำรวจ ควรมีการประชุม เพื่อทำความเข้าใจ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็น และหาข้อสรุปร่วมกัน เพื่อให้มีแนวทางในการประเมินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
คุณเบ็ญจรัตน์ พัทธนันท์วงศ์
สิทธิด้านการรักษาพยาบาลมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะสิทธิประกันสังคม และสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า บางสิทธิมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์มากขึ้น รหัสสิทธิที่ใช้ในโปรแกรม SSB ยังไม่ครอบคลุมและมีความหมายไม่ชัดเจน รวมถึงระบบบริการของโรงพยาบาล ตลอดจนความไม่รู้ ไม่เข้าใจของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผู้รับบริการได้รับสิทธิไม่ถูกต้อง หรือขาดโอกาสในการใช้สิทธิที่พึงได้ เกิดผลกระทบต่อผู้รับบริการ ต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และโรงพยาบาล
เพื่อให้การคัดกรองสิทธิการรักษาพยาบาลมีความถูกต้องมากขึ้น ผู้รับบริการได้รับสิทธิที่พึงได้ และโรงพยาบาลลดความเสี่ยงในการสูญเสียรายได้
นายศิวพล สุวรรณบัณฑิต
กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อที่พบบ่อย จะเป็นปัญหาสุขภาพที่สร้างความหนักใจให้กับแพทย์ผู้รักษาในปี 2555 งานแพทย์แผนไทยได้ทำการเก็บข้อมูลผู้รับบริการและญาติ ที่เข้ามารับการรักษาที่คลินิกแพทย์แผนไทยจำนวน 2,636 ราย แพทย์แผนไทยวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังจำนวน 331 ราย ส่วนใหญ่ร้อยละ 12.55 ขาดความรู้และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพแบบพึ่งพาตนเอง อีกทั้งจะมารับบริการด้วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังในตำแหน่งเดิม โดยอาการปวดยังคงอยู่ในระดับเดิม ทำให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขต้องมีภาระงานในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น รัฐบาลต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น งานแพทย์แผนไทยจึงได้พัฒนารูปแบบการให้บริการผู้ป่วยโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังจากแบบเดิมมาเป็นแบบใหม่ที่เรียกว่า คลินิก Health Care สุขภาพดีด้วยการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ซึ่งต่างจากคลินิกแพทย์แผนไทยแบบเดิมคือ เพิ่มกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องอาการเจ็บป่วยต่างๆ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยเน้นหลักการพึ่งพาตนเองได้อย่างถูกต้อง โดยมีรูปแบบการให้บริการด้วยหลัก 8 อ (อิริยาบถ อาหาร อากาศ อโรคยา อาจิณ อุเบกขา อุดมปัญญา อาชีพ ) หลัก 8 อ ยึดหลักตามยุทธศาสตร์การแพทย์แผนไทย ประยุกต์กับหลัก 3 อ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์)
นางศศิชล หงษ์ไทย
เนื่องจากผลการสุ่มประเมินการดำเนินงานโรงเรียนพ่อแม่ในปี 2554 และ 2555 พบว่าอัตราการเลิกนมขวดในเด็ก 1 ปี 6 เดือน ที่กลับมารับบริการที่คลินิกตรวจสุขภาพเด็กดีจาก 0 กลายเป็น 3.8 และในเด็ก 2 ปี มีการเลิกนมขวดจาก 23.3 เป็น 12.0 โดยรวมในเด็กก่อนอายุ 2 ปีพบว่า มีอัตราการเลิกนมขวดจาก 11.7 เป็น 7.9 ซึ่งถือว่าต่ำมาก นอกจากนี้จากการพูดคุยแนวทางการสอนในบุคลากรที่เกี่ยวข้องยังมีแนวทางและแนวคิดในการดูแลที่แตกต่างกัน แล้วดูแนวโน้มเด็กจะมีการติดนมขวดมากขึ้นเรื่อยๆ อันจะส่งผลทำให้พัฒนาการทางภาษาล่าช้า และมีผลต่อการเกิดฟันผุได้ ดังนั้นเพื่อให้แนวทางการให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงมีความจำเป็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน คลิกเพื่ออ่านเพิ่ม→
นางสาวลำพึง ภูกาธร
การทำให้ทารกมีร่างกายที่อบอุ่นนั้นมีความสำคัญมาก โดยทั่วไปทารกทุกรายที่คลอดออกมาจากครรภ์ที่อบอุ่นของมารดาแล้วจะมีการสูญเสียความร้อนอย่างรวดเร็วให้กับสิ่งแวดล้อมที่เย็นกว่า(Asakura,2004) เนื่องจากไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิกายให้คงที่ได้ ถ้ามีอุณหภูมิกายต่ำเกินไปอาจเกิดภาวะต่อไปนี้ เช่น ซึม ดูดนมช้า ดูดนมน้อยลงหรือไม่ดูดนม อาเจียน ท้องอืด น้ำหนักไม่ขึ้น ความต้องการการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น การผลิตสาร surfactant ลดลง การหายใจผิดปกติ น้ำตาลในเลือดต่ำ เลือดเป็นกรด
จากการเก็บข้อมูลของแผนกสูติกรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2556 เด็กทารกแรกเกิดจำนวน202ราย พบว่าทารกแรกเกิดที่ได้รับการอาบน้ำครั้งแรกจากเจ้าหน้าที่หลังเกิด 4 ช.ม.และมีอุณหภูมิกายก่อนอาบ 36.8-369 องศาเซลเซียส มีอัตราการเกิดภาวะตัวเย็นหลังอาบน้ำจำนวน 48 รายคิดเป็น 23.8.% เมื่อเด็กอายุ 1 วัน 15 รายคิดเป็น 7.4% และเมื่อเด็กอายุ 2 วันพบ 21 รายคิดเป็น 10.4% ในจำนวนนี้พบเป็นเด็กคนเดิมที่มีภาวะตัวเย็นซ้ำ 8 ราย ทางแผนกสูติกรรมจึงมีการพัฒนากระบวนการและวิธีในการอาบน้ำให้ทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันและลดอัตราการเกิดภาวะตัวเย็นภายหลังการอาบน้ำเพื่อให้สามารถดูแลทารกเหล่านี้ให้มีอุณหภูมิกายคงที่ อันจะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจตามมา คลิกเพื่ออ่านเพิ่ม→
นางบุษรา ใจแสน
ความปลอดภัยของทารกแรกเกิด นอกจากจะมีความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงทางด้านมารดาและทารกในระยะก่อนและหลังคลอดแล้ว ยังมีความต้องการ การช่วยเหลือจากทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่มีทักษะครบถ้วนในการกู้ชีพ อีกทั้งต้องมีความพร้อมทางด้านอุปกรณ์เครื่องมือและการประสานงานที่ดีเพื่อให้การช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
ผู้รับผิดชอบรับเด็กในเวลาราชการ คือ งานวิสัญญี งานห้องผ่าตัดและ งานห้องคลอด ส่วนนอกเวลาราชการ พยาบาลตรวจการจะเป็นผู้รับเด็ก ซึ่งความหลากหลายของบุคลากรในหลายแผนก ทำให้การปฏิบัติในกิจกรรมรับเด็ก มีอุปสรรคและปัญหาในด้านการเตรียมความพร้อมและการประสานงาน รวมทั้งทักษะที่ไม่ชำนาญการพอ จึงมีความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตของทารกแรกเกิดได้
ผู้เกี่ยวข้องเล็งเห็นความสำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพในการรับเด็กและลดความเสี่ยงที่ป้องกันได้ จึงได้ร่วมกันทบทวนโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้
นางสิรินันท ธิติทรัพย์
กลุ่มการพยาบาล จึงได้นำผลการตรวจสุขภาพ การประเมินพฤติกรรมด้านโภชนาการ และความผาสุกในการทำงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน ของปีงบประมาณ 2555 มาวิเคราะห์เป็นการหาโอกาสพัฒนา ในการส่งเสริมสุขภาพกาย-ใจ พบว่า สภาวะสุขภาพกายมีบุคลากรกลุ่ม A (ปกติ) จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 33.3 , กลุ่ม B (ผลเลือดผิดปกติ) จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 44.4 และกลุ่ม C (รอบเอวเกิน/ น้ำหนักเกิน) จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 22.2 สำหรับความพึงพอใจในการทำงานภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 78.5 เมื่อจำแนกรายด้านพบว่าด้านบรรยากาศในการทำงาน ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน และด้านครอบครัว อยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างมาก (61-80) คิดเป็นร้อยละ 70.6, 75.0, 76.9 และ 78.1 ตามลำดับ จำเป็นต้องมีการส่งเสริมให้มีความพึงพอใจในการทำงานขึ้นไปอีก โดยมีการส่งเสริม และแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังพบว่า การประเมินคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้วยแบบประเมินพฤติกรรม 3 อ. 20 ข้อ อยู่ในระดับดี (71-80 คะแนน) มีค่าคะแนน 74.4 คะแนน พฤติกรรม 3 อ. ที่อยู่ในระดับต้องปรับปรุง (น้อยกว่า60 คะแนน) ได้แก่ จดบันทึกการกินอาหารเพื่อควบคุมพลังงาน, ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 5 วัน และ กินปลา อย่างน้อยวันละ 1 มื้อ มีค่าคะแนน 13.3, 57.8 และ 57.8 คะแนน ตามลำดับ
นางสิริวรรณ สมพงษ์
คลินิกทันตกรรมให้บริการทันตกรรมแก่ผู้มารับบริการ มีทันตแพทย์ให้บริการจำนวน 5 คน ผู้รับบริการจำนวนวันละประมาณ 30 คน ไม่รวมหญิงตั้งครรภ์ และเด็กคลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดี
จากการประเมินแบบประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการทันตกรรมที่ผ่านมาพบว่าผู้รับบริการไม่พึงพอใจในเรื่องการรอคอยสูงสุด จากข้อมูลดังกล่าวคลินิกทันตกรรมจึงได้จัดทำแนวทางการลดระยะเวลาการรอคอย ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ จำนวนผู้รับบริการ ระยะเวลาในการให้บริการทันตกรรมในคนไข้แต่ละราย และระยะเวลาเอ็กซเรย์ทันตกรรม
นางสาวรัชนี ปวุตตานท์
การดำเนินงานให้บริการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก ประกอบด้วย การให้การปรึกษาแบบคู่ การให้ยาต้านไวรัส การดูแลรักษาแม่ลูกและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง โดยการให้การปรึกษาแบบคู่เพื่อการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี มีความจำเป็นสำหรับคู่ผู้รับบริการ ทั้งในคู่ที่ยังไม่ติดเชื้อ ติดเชื้อแล้ว และคู่ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี เพื่อให้ได้รับการปรึกษาและตัดสินใจรับการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีพร้อมกัน จะทำให้ทั้งคู่เกิดความรู้ความเข้าใจ หากติดเชื้อหรือมีผลเลือดต่างกันจะได้ร่วมกันตัดสินใจวางแผนอนาคตร่วมกัน และได้รับบริการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมต่อเนื่อง ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า บุคลากรทีมผู้ให้การปรึกษาและบุคลากรพยาบาลที่เกี่ยวข้อง ยังขาดความรู้และทักษะในการให้การปรึกษาแบบคู่แก่ผู้รับบริการ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8
นางณัฐนันท์ วงษ์มามี
จากข้อมูลสถานการณ์ มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ที่มารับบริการในงานตรวจสุขภาพเด็กดี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์ ปีงบประมาณ 2553, 2554, 2555 มีดังนี้ 34.3%, 39.5% และ 43.3% ตามลำดับ และจากการทบทวนรูปแบบบริการแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของโรงพยาบาล ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ หลังคลอด และเมื่อกลับไปอยู่บ้านแล้ว พบว่าบริการให้การแนะนำเรื่องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทางโทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมง โดยหอผู้ป่วยใน ตั้งแต่มารดากลับไปอยู่บ้านแล้ว จนกระทั่งมารดาพาบุตรมารับบริการการตรวจสุขภาพตามนัดเมื่อบุตรอายุ 2 เดือนที่งานตรวจสุขภาพเด็กดีนั้น ไม่มีกิจกรรมการติดตามประเมินผลการแนะนำเรื่องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทางโทรศัพท์ในแต่ละครั้ง ทำให้มารดาขาดโอกาสในการได้รับการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลต่อความ สำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนได้
ดังนั้นหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์ ซึ่งประกอบด้วย งานสูติกรรม งานผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด และงานเด็กป่วย จึงศึกษาผลของการให้บริการแนะนำทางโทรศัพท์ ต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนารูปแบบบริการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไป