หัวหน้าโครงการ นางณัฐนันท์ วงษ์มามี
สมาชิกกลุ่ม 1. COP วัยทำงาน ประกอบด้วย ศูนย์อนามัยที่3 (กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยทำงาน, งานส่งเสริมสุขภาพ, งานวัยทำงาน, งานให้การปรึกษา, กลุ่มงานส่งเสริมทันตสุขภาพ) ผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพวัยทำงานของ สสจ., สสอ.,รพสต. ในพื้นที่ 5 แห่งของเขตสุขภาพที่ 3
- COP ผู้นำสุขภาพ ในชุมชนเขตสุขภาพที่ 3
การบ่งชี้ความรู้
องค์การอนามัยโลก (WHO, 2005) ระบุว่าในปี พ.ศ. 2548 ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคเรื้อรัง 35 ล้านคน ซึ่งเป็น 2 เท่าของผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อทั้งหมด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ในปี พ.ศ. 2558 โดยเฉพาะโรคอ้วนเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ได้รับอิทธิพลจากการใช้วิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ บริโภคอาหารที่มีพลังงานเกิน ทานผักผลไม้น้อย ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า และความเครียด (WHO, 1995: 1- 45) เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของคนทั่วโลก ภาวะอ้วนเป็นปัจจัยหลักที่นำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อชีวิต เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง โรคข้อและเส้นเอ็น และโรคหลอดเลือดแข็งและอุดตัน ล้วนเป็น
ผู้จัดทำ : กลุ่มงานทันตสาธารณสุข
การบ่งชี้ความรู้
การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย เป็นเครื่องมือที่จะประเมินพฤติกรรมการกินและการทำความสะอาดฟัน ร่วมกับการตรวจสุขภาพช่องปากทุกครั้ง ที่มารับบริการคลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี จะช่วยให้พบความเสี่ยงหรือความผิดปกติเริ่มต้น ประโยชน์ของการประเมินความเสี่ยงโรคฟันผุ สามารถป้องกัน รักษาได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่โรคฟันผุจะลุกลาม โดยการให้ความรู้กับผู้ปกครองให้เห็นผลเสียของโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย ให้คำแนะนำและพัฒนาทักษะผู้ปกครองให้สามารถทำความสะอาดช่องปาก และสร้างพฤติกรรมการกินให้กับเด็กได้อย่างถูกต้อง
หน่วยงาน งานการเงินและบัญชี
เหตุผลและที่มา
สืบเนื่องจาก การดำเนินกิจกรรม KM 2558 เรื่อง การเรียกเก็บเงินอย่างไรให้ทันเวลา และเป็นปัจจุบัน งานการเงินฯสามารถแก้ไขการเรียกเก็บได้บางส่วน จากที่พบปัญหา เรื่อง ของตัวเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานใหม่ ขั้นตอน และความเชื่อมโยงกับงานอื่น ๆ ปัญหาดังกล่าวได้มีการแก้ไขจนสามารถทำให้การทำงานสามารถดำเนินต่อไปได้ แต่งานการเงินและบัญชีก็ยังพบปัญหาว่าทำไมจำนวนคงค้างของเอกสารเรียกเก็บเงินยังคงมีจำนวนไม่ลดลง เราจึงต้องค้นหาสาเหตุของปัญหาต่อไป
หน่วยงาน กลุ่มจัดการความรู้และการศึกษาด้านสุขภาพ
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
- เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของบุคลากรศูนย์ฯ ต่อการสื่อสารภายในองค์กร
- เพื่อศึกษาการเข้าถึงช่องทางการสื่อสารภายในองค์กร
- เพื่อศึกษาการรับรู้และความทันต่อเวลาในการรับข้อมูลข่าวสารของบุคลากรศูนย์ฯ
กระบวนการจัดการความรู้
การบ่งชี้ความรู้
เหตุผลและที่มา
ในปัจจุบันพบว่าการสื่อสารภายในองค์กรนับเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญต่อการบริหารจัดการองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ เนื่องจากการสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการเป็นตัวถ่ายทอดความต้องการ ความคิด ทัศนะ หรือวัตถุประสงค์ไปยังบุคคลต่อบุคคล กลุ่มต่อกลุ่ม หรือบุคคลต่อกลุ่ม เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเป้าหมายร่วมกัน ทั้งนี้ยังส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์กรให้เป็นไปอย่างสอดคล้อง มีประสิทธิภาพและตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์กร ซึ่งหากเกิดการสื่อสารที่ผิดพลาดจะส่งผลกระทบต่อการบรรลุประสิทธิผลขององค์กร จึงเห็นได้ว่าการสร้างระบบการสื่อสารภายในองค์กรที่ดีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก และสามารถสร้างความ พึงพอใจในการสื่อสารแก่บุคลากรด้วยการสื่อสารภายในองค์กรของศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ นั้นมีการสื่อสารค่อนข้างหลากหลายช่องทาง บุคลากรของศูนย์ฯ สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ ทั้งแบบเร่งด่วนและไม่เร่งด่วน ได้แก่ ระบบหนังสือเวียนผ่าน Intranet หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย/งาน เอกสารหนังสือเวียน โทรศัพท์ภายใน บอร์ดประชาสัมพันธ์ เสียงตามสาย Desktop Facebook Line และจากเพื่อนร่วมงาน แต่พบว่า
คุณธนาพร กิตติเสนีย์
เหตุผลและที่มา
จากการทบทวนปัญหาที่ผ่านมาของสำนักงานกลุ่มการพยาบาล พบประเด็นปัญหา 3 เรื่องหลัก ๆ ที่ต้องการพัฒนา ได้แก่ เรื่องการประหยัดพลังงาน ความเสี่ยงในหน่วยงาน และ การพบอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำงานหรือ “โรคออฟฟิศ ซินโดรม” ของบุคลากรกลุ่มการพยาบาล จึงได้มีการประชุมปรึกษาหารือในการเลือกเรื่องที่ต้องการพัฒนาและแก้ปัญหาร่วมกันเป็นลำดับแรก จึงได้ข้อสรุปออกมาว่า ต้องการแก้ปัญหา “โรคออฟฟิศ ซินโดรม” ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของบุคลากรกลุ่มการพยาบาล ในระยะยาว และได้รวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคนี้
คลิกเพื่ออ่านเพิ่ม→
นางสาวศศิวันต์ โล่ห์ทวีมงคล
เหตุผลและที่มา
การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน เตรียมคนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพคนไทยทุกช่วงวัย การพัฒนาคนอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา หากมารดามีความรู้และความตระหนักเอาใจใส่ดูแลสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอด ทำให้ลูกเกิดรอด หากมีการเลี้ยงดูทารกด้วยความรักความอบอุ่น เด็กจึงเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีค่ามากที่สุด เด็กแรกเกิด ถึงอายุ 6 ปี เป็นช่วงที่สมองเด็กเรียนรู้อย่างรวดเร็วและมีการพัฒนาในทุกด้านมากที่สุด สมองจะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดในช่วง 2 ปีแรกของชีวิต การพัฒนาให้สมองเด็กเจริญเติบโตได้ดี ขึ้นกับปัจจัยสำคัญ คือ คลิกเพื่ออ่านเพิ่ม→
นางสาวกันติชา เกษวิริยะการ
เหตุผลและที่มา
โครงการแนวทางการปรับพฤติกรรมของผู้ปกครองที่มาไม่ตรงเวลาโดยการจัดเก็บใบ VN เพื่อสะท้อนเวลาในการมารับบริการ เป็นโครงการที่พัฒนางานการให้บริการของคลินิกส่งเสริมพัฒนาการร่วมกับคลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้รับบริการมีพฤติกรรมในด้านการตรงต่อเวลา อันจะเป็นประโยชน์ต่อการรับบริการทั้งของตนเอง และผู้อื่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ คลินิกส่งเสริมพัฒนาการร่วมกับคลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี จึงได้เห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะปรับพฤติกรรมของผู้ปกครองให้มีความรับผิดชอบที่จะพาบุตรหลานมารับบริการ ได้ตรงเวลาเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้กฎกติกาของสังคม
นางสาวชิดชไม กวางแก้ว
เหตุผลและที่มา
จากเกณฑ์การประเมินมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก ในส่วนของคลินิกส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ได้กำหนดให้มีการประเมินและจัดการความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ ซึ่งกลุ่มงานทันตกรรมได้จัดทำแนวทางการประเมินและการจัดการต่อโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยไปเรียบร้อยแล้วนั้นเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ การนำเอาแนวทางการประเมินและการจัดการต่อโรคฟันผุไปใช้ และประเมินประสิทธิผลของแนวทางดังกล่าว จะก่อให้เกิดการถอดบทเรียน และปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทและแนวทางการทำงานมากยิ่งขึ้น
นางอำพรรณ ป้อมแก้ว
เหตุผลและที่มา
งานบริการกลางมีภาระงานที่ต้องสนับสนุนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 โดยการผลิตชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่หน่วยงานต่างๆ เพื่อใช้กับผู้รับบริการ ซึ่งงานบริการกลางประกอบด้วย 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1.งานจ่ายกลาง 2.งานซักฟอก 3. งานถุงมือ 4.งานตัดเย็บ ซึ่งแต่ละงานนั้นมีกิจกรรมที่มีความหนัก เบา ต่างกัน และการใช้เวลาเฉลี่ยวันละ 5-6 ชั่วโมง / กิจกรรม จึงทำให้เจ้าหน้าที่เกิดความเมื่อยล้า และอาจเกิดการเจ็บปวด /บาดเจ็บจากการทำงาน และผลการประเมินความปวดเมื่อยล้า จากเจ้าหน้าที่จำนวน 13 คน โดยแยกเป็น กลุ่มอาการ ดังนี้
นางพรรณี ไพบูลย์
เหตุผลและที่มา
จากรายงานผลการตรวจสุขภาพประจำปีงบประมาณ 2557 ของบุคลากรในหน่วยงานเดย์แคร์ พบว่า ส่วนใหญ่มีรอบเอวเกินมาตรฐานจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 91.67 มีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์ จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 และมี โคเลสเตอรอลสูงเกินมาตรฐาน 7 คนคิดเป็นร้อยละ 58.33 และข้อมูลจากค่าดัชนีมวลกายในบุคลากร(ค่าBMI) พบว่า อ้วน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 อ้วนรุนแรง และน้ำหนักเกิน จำนวน อย่างละ 1 คนคิดเป็นร้อยละ 8.33 เท่ากัน นอกจากนี้ ยังพบว่า