นส.พจน์กาญจณ์ บัณฑิตวงศ์
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนตามแนวคิดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๑ โดยความร่วมมืออย่างเข้มแข็งของฝ่ายการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและฝ่ายสาธารณสุขทุกภาคส่วน ทำให้โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้จากเกณฑ์การประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่พัฒนายกระดับจากการประเมินกระบวนการทำงานสู่การเน้นผลลัพธ์ทางภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน
ซึ่งวิธีการประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลถูกต้อง น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ นอกจากองค์ความรู้ของผู้ประเมินแล้วความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ การวัด การสังเกตจากหลักฐาน ร่องรอยต่างๆ การตรวจสอบ การแปลความโดยปราศจากอคติ ล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ทีมประเมินรับรองโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรของศูนย์อนามัยที่ ๘ นครสวรรค์ ประกอบด้วยบุคลากรของศูนย์อนามัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงสาธารณสุข โดยทีมประเมินมีบุคลากรที่มีประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อให้การประเมินรับรองโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรได้ข้อมูลถูกต้อง น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับจึงได้ เลือกประเด็นแลกเปลี่ยนการจัดการความรู้ เรื่องพัฒนาศักยภาพทีมประเมินรับรองโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ระดับเขตของศูนย์อนามัยที่ ๘ นครสวรรค์ คลิกเพื่ออ่านเพิ่ม→
นางสาวเบ็ญจา ยมสาร
วัยรุ่นและเยาวชน เป็นกลุ่มประชากรที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ แต่ปัจจุบันวัยรุ่นและเยาวชนเหล่านั้น กำลังเผชิญปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ได้แก่ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การทำแท้ง การติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ HIVและเอดส์ โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ในวัยเรียน ทำให้เด็กต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ส่งผลถึงปัญหาเศรษฐกิจของครอบครัว ปัญหาสังคมและชุมชน ซึ่งปัญหานี้ไม่สามารถแก้ไขได้โดยหน่วยงานใดหน่วยงานเดียว จำเป็นต้องมีการร่วมมือกันของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ตามข้อเสนอของ Bangkok Charter ที่นำมาประยุกต์เป็นกลยุทธ์ใช้ในการดำเนินงาน และจากการที่รัฐบาลมีนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 – 2557 เป็นแนวทางให้ทุกภาคส่วนแปลงไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ และมุ่งหวังการมีส่วนร่วมของภาคีและเครือข่าย ระดับพื้นที่ ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล สถานศึกษา หน่วยบริการสาธารณสุข และอำเภอ ในการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์และสุขภาพทางเพศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีการบูรณาการงานกัน โดยกรมอนามัยได้พัฒนาแนวทางการดำเนินงาน “อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์” ขึ้นเพื่อให้ภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ ท้องถิ่นและชุมชน มีแนวทางการทำงานร่วมกัน เกิดการบูรณาการการทำงานและมีรูปแบบการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์และป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น เป็นรูปธรรมและยั่งยืน
นางสุมาลัย นิธิสมบัติ
การจัดการความเสี่ยงเป็นงานที่สำคัญที่จะบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพและคุณภาพทางด้านการบริการและการบริหารจัดการ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ทั้งในการปฏิบัติงานประจำวัน การจัดการความเสี่ยงเป็นกระบวนงานที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพที่ส่วนใหญ่คนมักจะไม่ค่อยมองเห็นความสำคัญหรือยังไม่เปิดใจรับการการได้รับใบรายงานอุบัติการณ์ หรือผู้ที่ถูกเขียนใบเสี่ยงก็มักจะเกิดความเครียด บางครั้งทั้งที่รู้ว่าเป็นความเสี่ยงแต่ไม่กล้าที่จะเขียนใบรายงานอุบัติการณ์ จึงทำให้การรายงานความเสี่ยงขาดการรายงานขึ้น
นางวนิดา ดีพร้อม
งานบริหารความเสี่ยงและข้อร้องเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งในระบบการทำงานซับซ้อน มีหลายขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับงานเอกสาร ตั้งแต่ การลงทะเบียนความเสี่ยงหรือข้อร้องเรียน การบันทึกความเสี่ยงส่งให้กับหน่วยงาน การแจ้งความเสี่ยงให้หน่วยงานรับทราบ จนถึงการติดตาม การตอบกลับ การรายงาน ซึ่งเป็นกระบวนการดำเนินงานทางด้านเอกสารทั้งสิ้น จากปัญหาการดำเนินงานที่ผ่านมา มีความยุ่งยาก เอกสารสูญหาย ส่งผลให้การรายงานผลการดำเนินงาน ล่าช้า และคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้น กลุ่มพัฒนาคุณภาพและการเรียนรู้ จึงคิดพัฒนางานเพื่อลดขั้นตอนการดำเนินงาน สะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ จึงคิดพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลความเสี่ยงและข้อร้องเรียน ด้วย Data BaseMicrosoft office Access เพื่อสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลและรายงานผลความเสี่ยงและข้อร้องเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต่อไป
ระบบการบริหารจัดการข้อมูลความเสี่ยงและข้อร้องเรียน ยังขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เคยมีความรู้เดิมประสบการณ์จากการอบรมโปรแกรม Microsoft Access ที่ศูนย์อนามัยที่ 8 จัดขึ้น จึงนำความรู้ในสร้างโปรแกรมในการบันทึกข้อมูลความเสี่ยงและข้อร้องเรียนที่มีปัญหานี้ได้ เพื่อประหยัดเวลาในการทำงาน ค้นหา สามารถบริหารจัดการได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเคยทดลองใช้โปรแกรม Microsoft Access นี้ในการบันทึกข้อมูล การพัฒนาบุคลากรของฝ่ายฯ ใช้งานได้ดี ข้อแนะนำให้ทดลองใช้ในการจัดเก็บข้อมูลความเสี่ยงและข้อร้องเรียน ให้ทดลองใช้โปรแกรมกับการจัดเก็บข้อมูลความเสี่ยงและข้อร้องเรียนเหมือนกับโปรแกรมการฝึกอบรมและงาน ICของฝ่ายฯ คลิกเพื่ออ่านเพิ่ม→
แพทย์หญิงศรินนา แสงอรุณ
เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น แนวโน้มรอบเอวจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดโรคในระบบต่าง ๆ องค์กรแพทย์จึงตระหนักถึงความสำคัญนี้จึงได้ดำเนินการเฝ้าระวังเส้นรอบเอวให้ได้ตามมาตรฐาน หรือไม่เพิ่มขึ้นจากเดิม
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมสุขภาพโดยการลด หรือควบคุมเส้นรอบเอวของแพทย์ให้คงที่
นางสาวปุณชนิกา บุญเลิศ
เนื่องจากผลการตรวจสุขภาพในปีที่ผ่านและผลการตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกายด้วยเครื่อง Inbody พบว่าปัญหาสุขภาพของเจ้าหน้าที่อันดับ 1 คือ ระดับ Cholesterol เกิน 73% และรอบเอวเกิน 53% ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคต่างๆเช่น เบาหวาน ความดัน และโรคข้อเข่าอักเสบ
ดังนั้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่กลุ่มงานเวชศาสตร์ชันสูตรมีภาวะสุขภาพที่ดีและลดโอกาสในการเกิดโรคต่างๆ ทางกลุ่มงานฯจึงหาแนวทางที่เหมาะสามร่วมกันโดยทุกคนจะควบคุมปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับในแต่ละวันและจดบันทึกการกินอาหาร ประเภท ทอด ผัด และอาหารที่มีไขมันสูง และมีการติดตามผลทุกๆเดือน คลิกเพื่ออ่านเพิ่ม→
นายฤชา นิมิตรพรชัย
กรมอนามัยเป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและการจัดการสิ่งแวดล้อม และได้จัดทำโครงการสาธารณสุขรวมใจรณรงค์ลดโลกร้อนตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553ศูนย์อนามัยที่ 8 โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยได้จัดทำโครงการการจัดการขยะของศูนย์อนามัยที่ 8 อย่างถูกหลักสุขาภิบาล และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนโครงการสาธารณสุขรวมใจ รณรงค์ลดโลกร้อน จากการประเมินผลพบว่าการแยกขยะทิ้งยังทำได้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากปัจจุบันมีขยะหลายประเภทจนไม่สามารถแยกได้ถูก ส่วนหนึ่งมาจากการขาดความรู้และทักษะเรื่องการคัดแยก รวมถึงยังไม่มีการนำขยะไปจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทางหน่วยงานจึงต้องการให้ทุกหน่วยงานร่วมมือในการคัดแยกขยะให้ถูกต้อง คลิกเพื่ออ่านเพิ่ม→
ภญ.ภัทราวดี อำไพพันธุ์
การติดตามและเฝ้าระวังความคลาดเคลื่อนทางยา (Medication Errors: MEs) ติดตามข้อมูลและวิเคราะห์สาเหตุเพื่อหาแนวทางการแก้ไขเฝ้าระวังความคลาดเคลื่อนทางยาเพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยในการใช้ยา ระบบการจัดการยาที่ต้องระมัดระวังสูง (High Alert Drugs: HADs) เป็นระบบการจัดการยาหนึ่งที่สำคัญ เพราะยาที่เสี่ยงสูงเป็นยาที่จะก่อให้เกิดอันตราย หรือผลเสียต่อผู้ป่วยที่รุนแรง ถ้าหากมีความผิดพลาดในการสั่งใช้ยา คัดลอกคำสั่งใช้ยา จ่ายยา หรือการให้ยา จึงเลือกระบบการจัดการยา HADs เพื่อทบทวนแนวทางการปฏิบัติงานในระบบการจัดการยาที่ต้องระมัดระวังสูงในแต่ละหน่วยงาน ออกแบบและจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน แบบบันทึกข้อมูลการบริหารยา แผ่นความรู้และติดตามความปลอดภัยจากการใช้ยาที่ต้องระมัดระวังสูง สติ๊กเกอร์หรือ เพื่อลดความคลาดเคลื่อนจัดการยาที่ต้องระมัดระวังสูง(High Alert Drugs: HADs) เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้ง่ายและถูกต้องมากขึ้น คลิกเพื่ออ่านเพิ่ม→
นางสุมิตรา ดีวัน
สืบเนื่องจากนโยบายส่งเสริมสุขภาพบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 8 ในประเด็นการเป็นองค์กรต้นแบบการส่งเสริมสุขภาพ (3อ.) และมีการสนับสนุนให้บุคลากรในหน่วยงานทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพตนเอง ให้บรรลุเป้าหมายของศูนย์ฯ คือ เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้องค์กรไร้พุงต้นแบบ และจากการทบทวนผลการตรวจสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงานวัยทำงานจำนวน 9 คน เมื่อปี 2556 พบว่า เจ้าหน้าที่มีผล cholesterol สูง 6 คน คิดเป็น 66.7 % รอบเอวเกิน 5 คน คิดเป็น 55.5 % และค่าดัชนีมวลกายเกิน 7 คน คิดเป็น 77.8 % บุคลากรทุกคนจึงมีความเห็นร่วมกันว่าต้องทำกิจกรรมการลดรอบเอว ลดน้ำหนักและ กิจกรรม 3อ. อย่างจริงจัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายที่กำหนดไว้ เพื่อกระตุ้นเตือนให้เจ้าหน้าที่ทุกคนมีความตั้งใจและมุ่งมั่นจริงๆในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดเอว ลดพุง ลดโคเลสเตอรอล โดยใช้หลัก 3 อ. คลิกเพื่ออ่านเพิ่ม→
นางสาวสาวิตรี เชี่ยวชาญธนกิจ
จากผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล ปีงบประมาณ 2557 พบเกิดการระบาดของแผลผ่าตัดติดเชื้อจำนวน 2 ครั้ง และที่สำคัญคือพบเชื้อดื้อยา Acenetobacter baumannii และ MRSA ซึ่งเป็นเชื้อที่ไม่เคยพบมาก่อนในโรงพยาบาลและเป็นเชื้อที่ติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัส เพราะสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว และเป็นอันตรายสูงเมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อ ซึ่งคณะกรรมการ และคณะทำงาน IC ได้ทบทวนความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับวิธีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ซึ่งวิธีลดการแพร่กระจายเชื้อที่ดีที่สุดคือ การล้างมือ การล้างมือที่ถูกวิธีแบบ 5 Moment เป็นแนวปฏิบัติขั้นพื้นฐานในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โดยการสัมผัส และช่วยลดการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ประหยัดและได้ผลดีที่สุด จากการสำรวจพฤติกรรมการล้างมือของเจ้าหน้าที่ในแผนกเด็กป่วย พบว่าร้อยละ 25 เจ้าหน้าที่ล้างมือก่อนสัมผัสผู้รับบริการ ทางแผนกเด็กป่วยเห็นความสำคัญของการล้างมือ แบบ 5 Moment เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อในหน่วยงาน จึงจัดทำโครงการการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง 5 Moment ในเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลในงานเด็กป่วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์ เพื่อส่งเสริมและกระตุ้น ให้เจ้าหน้าที่ตระหนัก และให้ความสำคัญกับการล้างมือที่ถูกวิธีแบบ 5 Moment คลิกเพื่ออ่านเพิ่ม→