♥การพัฒนาหลักสูตรนักจัดการน้ำหนักเด็กวัยเรียน (Smart Kids Coacher) ศูนย์อนามัยที่ 3
จัดทำโดย กลุ่มงานพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยเรียน
องค์ประกอบที่ 1.บ่งชี้ความรู้
ปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนสู่ความเป็นสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อแบบแผนการบริโภคอาหารของครอบครัว และเด็กวัยเรียนซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อการสร้างรากฐานความมั่นคงต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก การบริโภคอาหารที่ต้องอาศัยความรวดเร็วเพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีพ ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ในเรื่องการบริโภคอาหารประเภทจานด่วน อาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับเด็กวัยเรียน ซึ่งอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทำให้เด็กวัยเรียนมีการเคลื่อนไหวและออกกำลังกายน้อยลง องค์ประกอบเหล่านี้ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอ้วน
♥การสื่อสารเรื่องเพศในวัยรุ่น
จัดทำโดย กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น
องค์ประกอบที่ 1 การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge identification)
* อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมทั้งหมด กดดาวน์โหลด *
♥การจัดการขยะมูลฝอย แผนกวัยทำงาน
จัดทำโดย กลุ่มงานวัยทำงาน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้บุคลากรงานวัยทำงานแยกขยะได้ถูกต้อง
องค์ประกอบที่ 1 การบ่งชี้ความรู้
จากสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าการถังขยะของเจ้าหน้าที่หน่วยงานวัยทำงานพบการทิ้งขยะไม่ถูกประเภท ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความยุ่งยากในการกำจัดขยะ
องค์ประกอบที่ 2 การแสวงหาความรู้
ประชุมร่วมกันหาแนวทางลดโลกร้อนกับเจ้าหน้าที่ เรื่องการจัดการขยะมูลฝอยแผนกวัยทำงาน
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเจ้าหน้าที่เรื่องการแยกขยะ
ทบทวนรวบรวมความรู้แหล่งต่าง ๆ เรื่องระบบการจัดการขยะ เช่น การแยกประเภทขยะ, การจัดเก็บ
การจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อ ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ 2545
การแยกขยะตามเกณฑ์มาตรฐาน GREEN CLEAN Hospital
♥การพัฒนาระบบการป้องกันการแพ้ยาซ้ำ กรณีเกิดการแพ้ยาซ้ำกับยาในกลุ่มเดียวกับที่ผู้ป่วยแพ้
จัดทำโดย หน่วยงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์
การบ่งชี้ความรู้
กรณีศึกษาการเกิดการแพ้ยาซ้ำในกลุ่มยาเดียวกัน
ผู้ป่วยเด็กชายอายุ 3 ปี มาเข้ารับการรักษาในรพ. เมื่อวันที่ 12/12/2559 ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยา Cefditoren (Meiact) (ผื่นแดงคันขึ้นทั่วตัว ตาบวม) ได้รับการประเมินตามหลัก WHO = 2 (Probable =น่าจะใช่) ตั้งแต่ปี 29/9/2559
ผู้ป่วยได้รับการประเมิน มีบัตรแพ้ยาติดตัว และมีบันทึกประวัติการแพ้ยาในระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล ระบบคอมพิวเตอร์ SSB แล้ว และตอนรับเข้าไว้ในโรงพยาบาลเพื่อรักษาได้มีการเขียนประวัติแพ้ยา ไว้ที่ใบ admission และ Doctor order sheet แล้ว
หลังจากรับเข้าไว้ในโรงพยาบาลเพื่อรักษา แพทย์ได้สั่งยา Ceftriaxone IV หลังให้ยาประมาณ 10 นาที พบว่าผู้ป่วยมีอาการคัน มีผื่นแบบ Urticaria ขึ้นทั่วตัว แพทย์จึงสั่งหยุดยาฉีด Ceftriaxone IV เปลี่ยนเป็นยาฉีด clindamycin และฉีดยาแก้แพ้ให้แก่ผู้ป่วย
การแพ้ยา เป็นส่วนหนึ่งของอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา จัดเป็นอุบัติการณ์ที่ผู้ป่วย หรือบุคลากรการแพทย์สามารถระบุหรือตรวจจับได้จากอาการหรืออาการแสดง ซึ่งการวางระบบที่ครอบคลุมตั้งแต่การสร้างความเข้าใจ การป้องกัน การดักจับ/การเฝ้าระวัง และการจัดการผลที่เกิดขึ้นตามมา โดยอาศัยความร่วมมือของทุกสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง มีส่วนสำคัญยิ่งต่อการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาให้แก่ผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
การเกิดการแพ้ยาซ้ำ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ และหากเกิดขึ้นแล้วอาจส่งผลต่อชีวิตของผู้ป่วยได้ โดยคณะอนุกรรมการความคลาดเคลื่อนทางยาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ มีการกำหนดตัวชี้วัดด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยซึ่งสอดคล้องกับตัวชี้วัดระบบยา ผู้ป่วยที่ได้รับยาที่แพ้ซ้ำนั้นต้องเท่ากับ 0 ราย และควรมีจำนวนการสั่งใช้ยาที่แพ้ซ้ำนั้นลดลง
♥ขอซื้อขอจ้างทำได้ง่าย….ทำอย่างไร??
จัดทำโดย งานพัสดุ กลุ่มอำนวยการ
การบ่งชี้ความรู้
งานพัสดุได้มีหน้าที่ในการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุครุภัณฑ์ทั้งหมดภายในศูนย์อนามัยที่ 3 ให้ตรงตามความต้องการของหน่วยงาน แต่จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานใหม่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขอซื้อขอจ้างของทุกหน่วยงานในศูนย์อนามัยที่ 3 ยังไม่เข้าใจในขั้นตอนการขอซื้อขอจ้างที่ถูกต้องตามระเบียบพัสดุ และส่งผลทำให้เกิดข้อผิดพลาดในขั้นตอนการขอซื้อขอจ้าง ทำให้ได้รับพัสดุไม่ตรงตามความต้องการ ทำให้เกิดความล่าช้าในการเบิกจ่ายพัสดุ
วัตถุประสงค์
เพื่อจัดทำคู่มือการขอซื้อขอจ้างวัสดุ ครุภัณฑ์สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานใหม่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขอซื้อขอจ้างของทุกหน่วยงานในศูนย์อนามัยที่ 3
♥การพัฒนารูปแบบการสอนนับลูกดิ้นโดยเจ้าหน้าที่ในแผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ ( ลูกน้อยปลอดภัยแม่ใส่ใจนับลูกดิ้น )
จัดทำโดย นางสุริยา เครนส์ และคณะ
บ่งชี้ความรู้
ลูกน้อยปลอดภัยแม่ใส่ใจนับลูกดิ้น
หญิงตั้งครรภ์ทุกรายจำเป็นต้องมีส่วนร่วม ในการดูแลลูกน้อยในครรภ์เองในช่วงที่ไม่ได้มารับการตรวจในโรงพยาบาล ซึ่ง ได้แก่ การนับลูกดิ้นในท้อง เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา การนับลูกดิ้น คือการบ้านที่โรงพยาบาลฝากไปให้คุณแม่ทำที่บ้านเพราะคุณแม่มาฝากครรภ์ก็มาอย่างมากเพียงเดือนละครั้ง แล้วครั้งละไม่กี่ชั่วโมง คุณแม่ก็กลับบ้านแล้วพร้อมหอบหิ้วลูกน้อยในท้องไปหยิบท้องด้วย ไม่ได้มาวางแล้วฝากไว้กับหมอหรือพยาบาลจริงๆ แล้วสิ่งเดียวที่จะรู้ได้ว่าลูกน้อยในท้องยังแข็งแรงอยู่หรือไม่ คือลูกดิ้นดีอยู่มั้ย ในขณะที่ท้องคับแคบลงแต่ลูกน้อยตัวกลับโตขึ้นเรื่อยแล้วดิ้นเปลี่ยนท่าทุกวัน อุบัติเหตุในท้องก็อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด เพราะสะดือยาว 50-100 ซม. อาจเกิดเหตุสายสะดือมัดกันเองเป็นปม 1ปมหรือ 2 ปม ลูกจะหายใจ40สะดวกไหม อาหารไปหาลูกสะดวกหรือไม่
♥เรื่องเล่าเร้าพลัง การคัดกรองหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงและการบริหารจัดการในแต่ละระดับสถานบริการของเขตสุขภาพที่ 3
จัดทำโดย จริยา บุญอนันต์และคณะ
จากการวิเคราะห์สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของเขตสุขภาพที่ 3 เราจะพบว่าการตายมารดาเกิดจากสาเหตุโดยตรง (Direct cause) คิดเป็นร้อยละ 60 และเกิดจากสาเหตุทางอ้อม (Indirect cause) คิดเป็นร้อยละ 40 ซึ่งใกล้เคียงกับข้อมูลของประเทศเราจึงได้นำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้นั้นมาสาเหตุเชิงลึกว่าเกิดจากอไรแล้วนำมาสร้างกรอบแนวคิดโดยใช้ Mind map ซึ่งพบว่าปัญหาเกิดจากขาดการคัดกรองความเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ , ขาดการใช้ Classifying form 18 ข้อ อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ และเมื่อประเมินความเสี่ยงแล้วก็ยังพบว่าไม่มีระบบในการบริหารจัดการหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงในระยะคลอดต่อไป ซึ่งจะส่งผลให้เกิดมารดาตายในระยะคลอดและหลังคลอดได้ ดังนั้นเราจึงเลือกประเด็นนี้มาทำการจัดการความรู้
♥ดีใจจัง ตังค์อยู่ครบ (การบริหารจัดการงบประมาณ)
จัดทำโดย กลุ่มขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และพัฒนากำลังคน
การบ่งชี้ความรู้ ความสำคัญและที่มาของปัญหา
การบริหารจัดการงบประมาณเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของโครงการ กระบวนการบริหารจัดการที่ดีต้องมีขั้นตอนของการดำเนินงานที่ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ การวางแผนการใช้งบประมาณมีความสำคัญในการบริหารโครงการเนื่องจากเป็นตัวควบคุม กำกับ ที่จะทำให้โครงการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เพื่อให้ผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการงบประมาณ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบความก้าวหน้าผลการเบิกจ่ายเป็นระยะๆ และสามารถนำผลการประเมินมาใช้ในการวางแผนปรับปรุงวิธีการดำเนินงาน หรือปรับเปลี่ยนเป้าหมายของโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ให้เหมาะสมกับทรัพยากรหรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในระหว่างปี และพัฒนากระบวนการทำงานในปีต่อไป กระบวนการติดตามและประเมินผล(Monitoring and Evaluation)งบประมาณที่ได้รับจัดสรร เป็นขั้นตอนหนึ่งในการดำเนินโครงการที่มีบทบาทสำคัญ และเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินโครงการให้สำเร็จเป็นไปตามวัตถุประสงค์ แผนงานและงบประมาณที่กำหนดไว้
♥การพัฒนารูปแบบคลินิกเฉพาะโรคทางการแพทย์แผนไทย
จัดทำโดย นางสาวบุญทริกา วรรณาเวศน์ และทีมงานคลินิกเฉพาะโรค
การบ่งชี้ความรู้
เดิมคลินิกการแพทย์แผนไทย มีการให้บริการในรูปแบบการรักษาทั่วไป โดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพ นวดรักษาและประคบสมุนไพรเป็นหลัก ผู้รับบริการส่วนใหญ่มาด้วยอาการที่เกิดจากการทางานและในกลุ่มวัยผู้สูงอายุ จากผลการดาเนินกิจกรรมพบว่า ผู้ป่วยกลับมาในอาการเดิมซ้าๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก
– รูปแบบการให้บริการไม่เฉพาะเจาะจงโรคของผู้รับบริการ
– ช่วงเวลาการให้บริการกับจานวนผู้มารับบริการ ที่ทาการซักประวัติมีเวลาไม่เพียงพอ เนื่องจากการรักษาทางการแพทย์แผนไทย เป็นการรักษาแบบองค์รวม
– มีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านแต่ขาดการเชื่อมโยงความสัมพันธ์และประสานการทางานของคลินิกที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น งานวัยทางาน ออกหน่วยตรวจสุขภาพ งานส่งเสริมสุขภาพ (โภชนาการ ออกกาลังกาย คลินิกแพทย์ทางเลือก) เป็นต้น
♥การพัฒนารูปแบบคลินิกดูแลหญิงหลังคลอดแบบครบวงจร
จัดทำโดย นางสาวนวพร เจริญวิทย์ธนเดช และทีมงานแพทย์แผนไทย
บ่งชี้ความรู้
เนื่องจากคลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์ มีการเปิดให้บริการด้านการอยู่ไฟสาหรับดูแลหญิงหลังคลอดตั้งแต่ปี 2552 โดยขั้นตอนการให้บริการนั้นมี 3 ขั้นตอน คือการนวดรักษา การทับหม้อเกลือ และการอบไอน้าสมุนไพรติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน มีผู้ให้บริการคือผู้ช่วยแพทย์แผนไทยที่ผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานความรู้ความสามารถในการบริการการอยู่ไฟหลังคลอด 70% (โดยวัดจากแบบประเมินคะแนนภาคปฏิบัติ)
ผลการดาเนินงานที่ผ่านมาพบว่ายังไม่ได้ประสิทธิภาพและคุณภาพเท่าที่ควร ดังนี้
– ขาดการตรวจร่างกายที่ครบถ้วนสาหรับหญิงหลังคลอด ไม่มีการตรวจเต้านม หัวนม (บุ๋ม บอด แบน) ไม่มีการวัดระดับมดลูก ไม่มีการซักประวัติที่ครบถ้วน
– ขาดการประเมินความพึงพอใจการใช้บริการอยู่ไฟหลังคลอด
– ขั้นตอนการให้บริการอยู่ไฟ เดิมมี 3 ขั้นตอนหลัก ยังขาดด้านการแนะนาปฏิบัติตัวหลัง คลอด การพันผ้าหน้าท้อง การให้คาแนะนาเกี่ยวกับยาสมุนไพร และสุขศึกษาโภชนาการสาหรับหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด